วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2

 เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
          รัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475” ขอพระราชทานโดยคณะราษฎร์ เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรก คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า   “บัดนี้การศึกษา สูงขึ้นแล้ว  มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถ าประเทศของตน ใน อันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรม วโรกาส  ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์  ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการ จรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช  2492  ได้กำหนดอย่างไร  อธิบาย
          หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
         มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
         หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
         มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
         หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
         มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
         มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
         มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511   พุทธศักราช  2517  และ พุทธศักราช  2521  เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
          แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
  4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 
          มีความแตกตางกันตรงในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน
5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
          มีความเหมือนกันตรงที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
6.  เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็น ธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
          เกิดจาการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
7.  เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
          เมื่อมีกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา
         
8.  การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม  และถ้าเปิดโอกาสให้ ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย   
          ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
9.  เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย  
          ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
10.  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
          มีผลต่อการพัฒนาด้านการศึกษา
                  1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
                  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
                  3.  การมอบทุนการศึกษา
                  4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ
            เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ  ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2 ตอบคำถามบทที่ 1


แบบฝึกหัด บทที่1

คำสั่ง  หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว  จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
                มนุษย์ ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ มนุษย์จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอด ซึ่งการอยู่ร่วมกันนี้มนุษย์มาจากต่างที่อาจทำให้การทะเลาะหรือไม่เข้าใจกัน ดังนั้นกฎหมายจึงเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่สามารถควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียนเรียบร้อยในสังคม
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
                ดิฉันคิดว่าสังคมในปัจจุบันไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะในปัจจุบันสังคมวุ่นวาย คนในสังคมชอบแกปัญหาด้วยความรุนแรง หากไม่มีกฎหมายมาควบคุมลงโทษการกระทำเหล่านี้สังคมจะเกิดความวุ่นวาย และคนในสังคมก็ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
 3.  ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้     
                   ก.  ความหมาย                    ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย       
                    ค. ที่มาของกฎหมาย             ง. ประเภทของกฎหมาย
                ความหมาย   กฎหมายคือ  คำสั่งหรือ ข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์  จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ  เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
          ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
          1.  เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องคก์รหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติ  กษัตริย์ใ์นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย ์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้  เช่น  รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ  คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  คณะปฏิวัติออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย        
          2.  มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ  ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ  คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์  ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย  สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย  เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  พระราชบัญญัติ การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
           3.  ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค  เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะสงบสุขได้  เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้  ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้  แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มี เงินได้  การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง  ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหาร กองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า18ปี  เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี เป็นต้น  
           4.  มีสภาบังคับ  ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำ และการงดเว้น การกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด  หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา  ปรับ จำคุก กักขัง ริมทรัพย์  แต่หากเป็นคดีแพ่ง  ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใด อย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น     
                ที่มาของกฎหมาย
                1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย   
          2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชกตามกติกาหากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิด เพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่ กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย 
                3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ์ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงไดบัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
                4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูง เป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่ง ความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจน าไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมาย อย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดง ความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว  เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า “การถืออาวุธ ในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุน” ต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า “การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิด” จึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว
               

                ประเภทของกฎหมาย
          ก. กฎหมายภายใน  มีดังนี้ 
          1.  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                   
                                1.1  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก  โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมายต่าง พระราชากำหนด  พระราชกฤษฎีกา  ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา  หรือ ออกโดยองค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น  อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ  เช่น เทศบัญญัติ  
                                1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่าน กระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป   
           2.  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง       
                                2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรค แรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพ บังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา     
                                2.2  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง  ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้  เช่น  การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม  การบังคับให้ชำระหนี้  การให้ชดใช้ค่าเสียหาย  หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้ง ยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก ตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ. 2539 
                3.  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ    
                    3.1  กฎหมายสารบัญญัติ  แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการ กระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด  หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่ กำหนดองค์ประกอบความผิด  และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา เป็นกฎหมายสารบัญญัติ    
                    3.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ  กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานของรัฐในการดา เนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญา เกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณา คดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิด สำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนด ขั้นตอนต่าง ๆไว ้ เป็นวิธีการดำเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคำพิพากษา 
          4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                       4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
แก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ
                        4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
              ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
                  1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
                  2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ ๆ
                  3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้    
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
          ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะกฎหมาย ข้อบังคับให้คนในแต่ละประเทศปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และความไม่สงบสุข หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษ เป็นการควบคุมคนในประเทศให้อยู่ในระเบียบของกฎหมายและไม่วุ่นวาย หากประเทศใดที่คนในประเทศปฏิบัติเคารพต่อกฎหมายอย่างเคร่งขัดก็จะทำให้ประเทศนั้นมีความเป็นระเบียบสงบสุข
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย 
          สภาพบังคับในทางกฎหมายนั้นก็คือการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง หรือบทลงโทษต่างๆ
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง  มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
          มีความแตกต่างกัน คือ แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้
              
ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
            ระบบของกฎหมายสามารถแบ่งได้เป็น ระบบ
          1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นระบบเอามาจาก “JusCivile”ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และ การวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด  กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้  ประเทศยุโรป เช่น  อิตาลี  เยอรมัน  ฝรั่งเศส  สวิตเซอร์แลนด์  และประเทศตะวันออก  เช่น  ไทย  ญี่ปุ่น
              2. 
ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า
เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย นี้  เช่น  อังกฤษ  สหรัฐอเมริกา  และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ          
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง  มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
                - บ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก   กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
          - แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
          แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
          แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
          แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
          เช่นกฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน มี 2 ประเภท
          1.  กฎหมายภายใน
                   กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   - กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                   กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                   - กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
          2.  กฎหมายภายนอก
                   กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                   กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                   - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร  มีการแบ่งอย่างไร  
            ศักดิ์ของกฎหมาย “เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจ กล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า  กฎหมายหรือ บทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า  จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ และเราจะพิจารณาอย่างไรโดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย 
          การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย
          1.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          2.  พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
          3.  พระราชกำหนด
          4.  ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ
          5.  พระราชกฤษฎีกา
          6.  กฎกระทรวง
          7.  ข้อบัญญัติจังหวัด
          8.  เทศบัญญัติ
10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555  มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม รูปทรงม้า  และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ  ลงมือทำร้ายร่างกาย ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
          ดิฉันมีความคิดว่ารัฐบาลกระทำผิด เพราะ การใช้ความรุนแรงทำร้ายร่างกายประชาชนเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และผิดกฎหมายด้วย ปะชาชนมีสิทธิที่จะชุมนุมกันอย่างสงบตามรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากพื้นที่เป็นพื้นที่ห้ามชุมนุมควรพบกันคนละครึ่งทางดีกว่า รัฐบาลกับผู้ชุมนุมควรมีการพูดคุยปรึกษาหาทางออกอื่นที่ดีกว่าการใช้ความรุนแรงเช่นนี้ เพราะเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ทำร้ายผู้บริสุทธิ์ไปหลายคน
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า  กฎหมายการศึกษาอย่างไร  จงอธิบาย
           กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้   
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป        ประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง   
          หากนักศึกษาครูไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาจะส่งผลกระทบต่อการทำงานในอาชีพครูเป็นอย่างมาก ไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสภาพสังคม และอาจทำให้การวางตัวประพฤติตนไม่เหมาะสมในบางสถานการณ์

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1

อนุทินที่ 1 แนะนำตนเอง


สวัสดีคะ ดิฉันชื่อ นางสาวกานต์ธิดา แซ่หลี ชื่อเล่น ก้อย รหัสประจำตัวนักศึกษา 5881112028
เกิดเมื่อวันที่ 13 เดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2539 ปัจจุบันอายุ 22 ปี

การศึกษา จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนวัดเทพนมเชือด
จบชั้นมัธยมศึกษาจาก  โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
              
อุดมการณ์การเป็นครู 
    สำหรับดิฉันมีอุดมการณ์ของการเป็นครูว่า "ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีค่า" ครูคือแบบอย่างที่นักเรียนหรือคนทั่วไปมองและะสามารถนำมาเป็นตนแบบได้  เพราะฉะนั้นการเป็นครูของดิฉันนอกจากจะมีความรู้ความสามารถที่เพียบพร้อมแล้วนั้น การวางตัวถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับอาชีพนี้ ครูจะถูกจับตามองอยู่ตลอด การปฏิบัติตนจำเป็นจะต้องเหมาะสมและไม่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ครูที่สมบูรณ์พร้อมด้วยความรู้ความสามารถ และการประพฤติปฏิบัติ "ถือเป็นครูโดยแท้จริง"

เป้าหมายของนักศึกษา 
     เป้าหมายของดิฉัน คือ การหมั่นเพียรจนสำเร็จการศึกษา และสามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการให้เร็วที่สุดหลังสำเร็จการศึกษา สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้ และถ้ามีโอกาสดิฉันอยากจะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางด้านหน้าที่การงานของตนเอง




อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวนบทที่  2  เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1.  ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ...